ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิตคือการสูบฉีด ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายและเป็นเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจเบื้องต้น น้ำมันหอมระเหยหลายๆ ตัวก็มีผลต่อการระดับความดันซึ่งจัดว่าเป็นทั้งประโยชน์และโทษ จึงรวบรวมมาให้ดูกันค่ะ


น้ำมันหอมระเหยกับอาการความดันโลหิต 

สำหรับผู้มีอาการความดันโลหิตสูง
For High Blood Pressure (Hypertension)
สำหรับผู้มีอาการความดันโลหิตต่ำ
For Low Blood pressure ( Hypotension )

Bergamot
Chamomile German
Chamomile Roman
Clary Sage 
Frankincense
Geranium
Helichrysum (Immortelle )
Jasmine 
Lavender 
Mandarin
Marjoram Sweet
Melissa
Neroli
Petitgrain
Rose
Sandalwood
Valerian
Vetiver
Yarrow
Ylang Ylang
Angelica
Basil
Bay west indies
Black pepper
Camphor
Caraway
Cinnamon
Clove
Coriander
Eucalyptus
Ginger
Hyssop
Peppermint
Pine
Rosemary
Sage (Salvia fruticosa miller)
Thyme (Thymus vulgaris, ct. Thujanol)

 

 
อย่าสับสนกับคำศัพท์ที่คล้ายกัน  ที่หมายถึงอาการของโรค และการแก้อาการของโรค
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการความดันโลหิตสูง High Blood Pressure (Hypertension) ก็ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหยในกลุ่มทางขวามือ
และขณะเดียวกันผู้ที่มีอาการความดันโลหิตต่ำ Low Blood pressure ( Hypotension ) ก็ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหยในกลุ่มทางซ้ายมือ
 
Hypertension – อาการความดันโลหิตสูง High blood pressure
Hypertensive –  การเพิ่มความดันโลหิต Raises blood pressure
Hypotension –  อาการความดันโลหิตต่ำ Low blood pressure
Hypotensive –  การเพิ่มความดันโลหิต Lowers blood pressure
 
โดยปกติหัวใจจะมีการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายอย่างสม่ำเสมอผ่านหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย โดยอาศัยแรงดันภายในหลอดเลือดเป็นตัวช่วยสูบฉีด ซึ่งมีค่าการวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท และสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ค่า
ค่าความดันตัวบน เรียกว่า ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค (Systolic Pressure) เป็นแรงดันในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจบีบตัว
ค่าความดันตัวล่าง คือ เรียกว่าค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค (Diastolic Pressure) เป็นแรงดันในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจคลายตัว 
ความดันโลหิตของผู้ใหญ่จะอยุ่ในระหว่าง 90/60 มิลลิเมตรปรอท และ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้น หากวัดค่าความดันโลหิตได้ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท จึงทำให้เกิดภาวะความดันเลือดต่ำ แต่ถ้าค่าที่วัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปจะจัดเป็นภาวะความดันโลหิตสูง   ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย  
ทั้งนี้ ข้อมูลข้างต้นรวบรวมมา เป็นข้อควรระวังสำหรับผู้มีอาการ  แต่ถ้าท่านอยุ่ในกลุ่มที่ความดันปกติหรือควบคุมได้ปกติ ก็สามารถใช้ได้ทั้งสองกลุ่ม   และเป็นอีกทางเลือกการใช้สมุนไพรธรรมชาติมาบำบัดดูแลร่างกาย ปรับสมดุลให้กับร่างกายโดยพึ่งพายาแผนปัจจุบันน้อยลง โดยเฉพาะคนที่มีความดันสูงเล็กน้อย ซึ่งอาจต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก งดบุหรี่ ลดอาหารเค็ม
CR.   Complete Illustrated Guide to Aromatherapy By Julia Lawless
แปลโดย  Aroma & More Admin
www.aromaandmore.com