การทดสอบอาการแพ้กับผิว  Patch Testing

 

ถ้าคุณมีผิวที่บอบบางหรือไม่เคยใช้น้ำมันหอมระเหยหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยกับผิวหนังของคุณมาก่อน แนะนำให้ใช้แผ่นทดสอบภูมิแพ้ก่อนใช้น้ำมันเพื่อตรวจสอบว่าคุณจะไม่มีอาการแพ้ใดๆ

ในการทดสอบการแพ้หรือภูมิแพ้ ให้ทาปริมาณเล็กน้อยบริเวณด้านในของข้อศอกและทิ้งไว้เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง หากไม่มีผื่นแดงหรืออาการระคายเคืองใดๆ เกิดขึ้นแสดงว่าปลอดภัย  

โดยทั่วไปแล้วน้ำมันหอมระเหยหลายชนิดแม้จะปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่เพราะไม่เป็นพิษและก่อให้เกิดการระคายเคืองใดๆ ก็ตาม แต่อาการแพ้ก็อาจเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาทางร่างกายของแต่ละคน หากเกิดอาการแพ้ ให้หยุดใช้ทันที

หรืออาการแพ้อย่างอื่น เช่น การกระจายกลิ่นในอากาศ เกิดอาการเคืองตา แสบตา ปวดหัวรุนแรง ให้หยุดใช้ทันทีเช่

 

คำศัพท์ที่มักจะปรากฏในข้อมูลความปลอดภัยของน้ำมันหอมระเหย


Irritation 
อาการระคายเคือง เกิดในตำแหน่งที่เราสัมผัสน้ำมันหรือครีม จนทำลายเซลล์ผิวหนังโดยตรง

Nontoxic *ไม่มีพิษ* ไม่ทำอันตรายเมื่อใช้โดยตรงและไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆ

Nonirritant *ไม่ทำให้ระคายเคือง* น้ำมันชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือผลเสียใดต่อผิวหนัง

Sensitizing *ทำให้เกิดภูมิแพ้* อาจทำให้ระคายเคืองหรือผลกระทบต่อร่างกายในแต่ละบุคคลได้ อาการตุ่ม คัน ผื่นแดง โดยอาจเกิดบริเวณอื่นด้วยไม่เฉพาะจุดที่เราสัมผัสน้ำมัน โดยเฉพาะกลุ่มที่มี Aldehydes และ Phenols สูง

Phototoxic *การแพ้แดด* อาจทำให้ผิวหนังไวต่อแดดและทำให้ได้รับผลกระทบจากรังสียูวีได้

 

ส่วน Allergy คือ อาการภูมิแพ้ เกิดจากร่างกายสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งไปกระตุ้นให้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารเหล่านั้น ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทางผิวหนัง ดวงตาหรืออวัยวะภายในอื่น ๆ ซึ่งมีน้ำมันหอมระเหยหลายตัวที่ช่วยลดอาการภูมิแพ้ได้