Article 5-23

 

Essential Oil & Extraction / การสกัดน้ำมันหอมระเหย

 

การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชมีหลายวิธี แล้วแต่ความเหมาะสมของพืชนั้น ๆ ตลอดจนวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ โดยกว่าจะได้น้ำมันหอมระเหยแต่ละหยด ต้องใช้ ดอก ใบ ลำต้น ราก ฯลฯ เป็นจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ราคาน้ำมันหอมระเหยมีความแตกต่างกัน ดังเช่นตัวอย่างน้ำมันหอมระเหยชนิดต่าง ๆ ต่อไปนี้

น้ำมันหอมระเหยกลิ่นกุหลาบ (Rose) หนัก กิโลกรัม ต้องใช้ดอกกุหลาบ 4,000 กิโลกรัม
น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะลิ (Jasmine) หนัก กิโลกรัม ต้องใช้ดอกมะลิถึง ล้านดอก หรือ 2,000 กิโลกรัม
น้ำมันหอมระเหยเนโรลิ (Neroli) หนัก กิโลกรัม ต้องใช้ดอกส้ม ถึง 6,000 กิโลกรัม

น้ำมันหอมระเหยตะไคร้บ้าน (Lemongrass) หนัก 1 กิโลกรัม ต้องใช้ตะไคร้บ้านสด 400-500 กิโลกรัม

น้ำมันหอมระเหย Thyme หนัก กิโลกรัม ต้องใช้ใบไทม์ ถึง 400 กิโลกรัม

การสกัดน้ำมันหอมระเหย แบ่งออกเป็น 6 วิธี ดังนี้

1.    การกลั่นด้วยไอน้ำ (Steam Distillation) เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด ซึ่งใช้กับสมุนไพรที่ทนความร้อนจากใบ ราก เปลือกไม้และยางไม้ วิธีนี้เป็นวิธีกลั่นแบบโบราณที่มีประวัติยาวนานมากว่า 5,000 ปี ในปัจจุบันเครื่องกลั่นทำมาจาก

สเตนเลส หรือทองแดง โดยใส่พืชลงไปในหม้อกลั่นทรงกระบอก ใช้ความร้อนเพื่อให้เกิดเป็นไอน้ำ เมื่ออุณหภูมิ   ร้อนขึ้น พืชก็จะอ่อนลงทีละน้อยพร้อมกับความดันที่เพิ่มขึ้นบนพื้นผิว เพื่อให้ไอน้ำดึงน้ำมันหอมระเหยออกมาจากพืชขึ้นไปพร้อมกับไอน้ำ ส่วนผสมของไอน้ำและน้ำมันหอมระเหยที่ออกมาจากหม้อกลั่น  จะถูกส่งผ่านไปยังเครื่องควบแน่น (Condenser) ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนไอน้ำและน้ำมันหอมให้เป็นของเหลว จากนั้นน้ำมันกับน้ำจะแยกชั้นกัน เมื่อน้ำมันลอยขึ้นมาบนพื้นผิวของน้ำก็แสดงว่าได้น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์พร้อมที่จะถูกเก็บใส่ภาชนะบรรจุ พร้อมกันนั้นก็จะได้น้ำที่ได้จากผลพลอยได้ของการสกัดน้ำมันหอมระเหยเรียกว่า Floral water หรือ Hydrosol ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกทางหนึ่ง จัดว่าเป็นวิธีที่สะดวก ค่าใช้จ่ายไม่สูง และใช้เวลาไม่นาน

 

 

 

2.   การบีบอัด (Expressionวิธีที่ง่ายที่สุดในการสกัดน้ำมันหอมระเหยคือการบีบอัดวัตถุดิบแล้วเก็บน้ำมัน โดยวิธีการนี้จะใช้กับพืชที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ในเปลือกชั้นนอกของผลไม้และไหลออกมาได้ง่าย อย่างเปลือกของผลไม้ตระกูลซิตรัส เช่น ส้ม เลมอน มะนาว มะกรูดที่ใช้เครื่องอัดเพื่อสกัดของเหลว แล้วจึงแยกน้ำออกจากน้ำมัน น้ำมันหอมระเหยที่สกัดโดยวิธีนี้จะมีอายุการใช้ (Shelf life) ค่อนข้างสั้นกว่าชนิดอื่น

 

 

 

3.   การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent Extractionเป็นวิธีการสกัดได้น้ำมันชนิดที่เรียกว่า Absolute กลิ่นหอมของดอกไม้ที่บอบบางมาก ๆ เช่น ดอกมะลิ ดอกบัว หรือกุหลาบ พืชจำพวกนี้จึงต้องการวิธีการที่ปราศจากไอน้ำหรือน้ำเพราะอาจถูกความร้อนทำลายกลิ่นเอกลักษณ์ไปได้ วิธีการคือการใช้ ตัวทำละลายผสมกับดอกไม้เพื่อดึงเอาสารต่าง ๆ จากพืชออกมา และจะเข้ากระบวนการกลั่นอีกครั้งจนได้สารละลายที่เรียกว่า Concrete แล้วนำไปสกัดแยกเอาตัวแวกซ์ออก และผ่านกระบวนการแยกแอลกอฮอล์ออกอีกครั้ง จนได้สารหอมที่มีความเข้มข้นสูงหรือเรียกว่า Absolute ซึ่งมีกลิ่นหอมใกล้เคียงตัวดอกไม้และติดทนนานมากกว่าวิธีการกลั่นด้วยไอน้ำ โดยวิธีนี้เป็นที่นิยมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม

 

 

4.   การสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เหลว (CO2 extractionวิธีการนี้จะเพิ่มความดันคาร์บอนไดออกไซด์ให้เปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลวที่สามารถนำมาใช้เป็นตัวทำละลาย โดยตัวทำละลายนี้จะแพร่กระจายไปที่วัตถุดิบและสกัดองค์ประกอบของสารกลิ่นหอมออกมาจากพืช จัดเป็นเทคโนโลยีที่ต้นทุนค่อนข้างสูงจึงต้องเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสมกับวิธีนี้ เช่น Jasmine, Rose, Osmanthus จะได้คุณภาพน้ำมันดีมีความบริสุทธิ์สูง ซึ่งราคาจะสูงกว่าการสกัดด้วยไอน้ำเมื่อเปรียบเทียบการสกัดจากพืชชนิดเดียวกัน

 

 

5.    การหมัก (Macerationสามารถทำได้ในห้องครัวของคุณ เริ่มด้วยเหยือกแก้ว สมุนไพร ดอกไม้หรือใบไม้ที่คุณเลือก น้ำมันเบส อาทิ น้ำมันมะกอก (Olive oil) หรือน้ำมันสวีต อัลมอนด์ (Sweet almond oil) ก็เป็นทางเลือกที่ดี โดยนำสมุนไพรใส่ลงในเหยือกตามด้วยน้ำมันเบส ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ น้ำมันเบสจะดึงกลิ่นและประโยชน์จากสมุนไพรออกมา จากนั้นนำไปแยกกากออก เหมาะสำหรับนำไปใช้ประโยชน์เป็นน้ำมันนวด ทำครีม ลิปบาล์ม เป็นต้น

 

 

 

6.   อองเฟลอราจ (Enfleurage) เป็นวิธีการสกัดด้วยไขมันสัตว์หรือน้ำมันพืชโดยใช้กับกลีบดอกไม้บาง ๆ ซึ่งเป็นเทคนิคเก่าแก่ของชาวฝรั่งเศส มีวิธีการทำโดยการใช้น้ำมันหรือไขมันที่ไม่มีกลิ่นเป็นตัวดูดซับน้ำมันที่ระเหยออกมาจากกลีบดอกไม้โดยนำตัวดูดซับแผ่วางเรียงลงบนถาด แล้วนำกลีบดอกไม้วางเรียงบนตัวดูดซับ เก็บไว้ในภาชนะปิด ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนกลีบดอกไม้ใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อย ๆ จนตัวดูดซับดูดซับเอาน้ำมันหอมระเหยจนหมดเรียกว่า Pomade จากนั้นใช้แอลกอฮอล์เพื่อละลายไขมันที่ไม่ต้องการออก จะได้กลิ่นหอมที่ค่อนข้างเหมือนกลิ่นเดิม ทั้งนี้อองเฟลอราจเป็นวิธีที่สามารถทำเองได้ เนื่องจากอุปกรณ์และขั้นตอนไม่ซับซ้อน

 

 

 

จะเห็นได้ว่าการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชมีวิธีที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของพืชนั้น ๆ ความคุ้มค่ากับปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่ได้ ตลอดจนคุณภาพที่เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ จะมาจากการสกัดด้วยวิธีการ 4 แบบแรกเท่านั้น